วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

Data Warehouse กับ Data Mining ต่างกันอย่างไร?

บางคนเก็บข้อมูลไว้เต็มเลย เช่น อาจจะมีข้อมูลลูกค้ากว่า 80 กิกะไบต์ แต่ใช้ไม่เป็นเลย เวลาจะหาลูกค้ารายหนึ่งต้องวิ่ง Search ไปเป็นชั่วโมงยังหาไม่เจอเลย อย่างนี้เท่ากับคุณมีโกดังเก็บข้อมูลเต็มไปหมด แต่คุณไม่รู้จักร่อนข้อมูลให้เป็น คุณจะต้องมีซอฟต์แวร์เพื่อที่จะร่อนข้อมูลที่ต้องการออกมา นั่นคือ Data Mining ยกตัวอย่าง การจะเก็บข้อมูลของประชากรที่เลี้ยงสุนัข เพื่อขายอาหารสุนัข ซึ่งแน่นอนว่า ประชากรทั้ง 60 ล้าน คงไม่เลี้ยงสุนัขกันทุกคน คุณรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายมีอยู่กลุ่มเดียว ฐานข้อมูลพวกนี้คุณสามารถเก็บได้จากเจ้าของสุนัข ซึ่งอนาคตได้ข่าวว่า จะมีการขึ้นทะเบียน ถ้ามีทะเบียนขึ้นมาตรงนี้คุณพอจะรู้เลย และสามารถเอาฐานข้อมูลตรงนั้นมาทำตลาดได้ แล้วถ้าคุณสามารถเอาสินค้าที่ขายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายตัวนั้นออกไป ให้ลูกค้ากรอกข้อมูลกลับมา โดยมีสิ่งตอบแทนที่เขาอุตส่าห์เสียเวลาเขียนข้อมูลให้คุณ เช่น หมาพันธุ์อะไร อายุเท่าไร? กินอาหารอะไร? ซึ่งตรงนี้จะเป็นข้อมูลที่คุณสามารถใช้ประโยชน์ในการทำ Data Mining ในอนาคต การทำความรู้จักกับผู้บริโภคของคุณนั้น คุณจะต้องมียุทธศาสตร์ทางด้านการตลาดที่แข็งแกร่ง คุณจะต้องทราบว่า ผู้บริโภคอยู่ตรงไหน? แล้วก็จะต้องมีข้อมูลทางด้านจิตวิทยา และทางด้านสำมะโนประชากร (Demographic) ว่า เป็นอย่างไร? ในขณะที่ฝ่ายบริหารการตลาดทุกวันนี้ ส่วนมากจะทำการตลาดแบบง่ายๆ ก็คือ ลดราคา ลดต้นทุนการผลิต เพราะฉะนั้น คุณจะต้องทำอย่างไร? บางแห่งก็บอกว่า ต้นทุนของการหาลูกค้าใหม่อยู่ที่ประมาณ 6-10 เท่าตัวมากกว่าต้นทุนของการรักษาลูกค้าเก่า เพราะฉะนั้น ถ้าคุณกำลังรับผิดชอบงานทางด้านการตลาดอยู่ โดยที่คุณมีลูกค้าอยู่จำนวนหนึ่ง ถ้าคุณไปหาลูกค้าใหม่อีก 10,000 คน แล้วคุณเสียลูกค้าเก่าอีก 5,000 คน หรือเผลอๆ คุณได้ลูกค้าใหม่ 10,000 คน แต่คุณเสียลูกค้าเก่าไป 30,000 คน ถามว่า คุ้มกันไหม? เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่า ต้นทุนของการหาลูกค้าใหม่แพงกว่าต้นทุนของการรักษาลูกค้าเก่า ประมาณ 6-10 เท่าตัว วิธีการ คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาลูกค้าเก่ามากที่สุด แล้วเอาชนะใจเขา แล้วให้เขาซื้อสินค้าเรามากขึ้น นั่นคือวิธีที่เราต้องการ คุณจำเป็นที่จะต้องสร้างความจงรักภักดีให้เกิดกับลูกค้าของคุณ และความจงรักภักดีของลูกค้าต่อคุณนั้น คือ สิ่งที่คุณปฏิบัติต่อลูกค้าคุณ เกี่ยวกับเรื่องสินค้าคุณอย่างคงเส้นคงวาครับ! นอกจากนี้ เรายังต้องพัฒนาและให้ความรู้แก่ผู้บริโภคของเราด้วย เราต้องการผู้บริโภคที่ฉลาดตามเรา หรือไม่แน่อาจจะฉลาดกว่าเรา เราต้องบอกเขาว่า เราต้องการอยากจะรู้ว่าเขาเป็นอย่างไร? อยากจะให้เขาได้มีโอกาสสัมผัสสินค้าหรือบริการของเรา ฉะนั้น เราจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ กับจะต้องสร้างลูกค้าที่มีคุณค่าตลอดชีวิตขึ้นมา (Customer Lifetime Value) เพราะเราต้องการให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดชีวิต มมตินะครับ ถ้าคุณทำให้คนที่ดื่มโค้กไม่พอใจคุณ ถ้าเขาอายุแค่ 15 ปี แล้วคาดว่าเขาจะตายตอนอายุ 75 ปี ตกลงเขามีโอกาสบริโภคโค้ก 60 ปี ถ้าคุณทำให้คนนี้ไม่พอใจโค้กขึ้นมา แล้วเขาดื่มวันละ 2 กระป๋อง ตกลงคุณสูญเสียค่าโอกาสไม่ใช่ 13 บาทหรือ 1 กระป๋อง แต่คุณจะเสียโอกาสทั้งหมดกว่า 5 แสนบาท คิดจากมูลค่า ณ ปัจจุบันนะครับ โดยการคำนวณจากการบริโภคโค้กกระป๋องละ 13 บาท วันละ 2 กระป๋อง คูณด้วยจำนวน 365 วัน คูณด้วย 60 ปี ตามสูตรดังนี้ 13x2x365x60 ปี ข้อสำคัญ คุณต้องตระหนักด้วยนะครับว่า ใครจะมาเป็นพนักงานขายให้กับสินค้าของคุณได้ดีที่สุดเท่ากับลูกค้าของคุณ นี่จึงเป็นที่มาของธุรกิจใหม่ในรอบ 10 ปี 15 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้จากธุรกิจขายตรงอย่างแอมเวย์ที่ใช้กลยุทธ์แบบนี้ คือ ถ้าผมขายสินค้าให้คุณใช้ แล้วคุณใช้ผลิตภัณฑ์ของผมแล้วคุณชอบ ทำไมคุณไม่แนะนำเพื่อนของคุณอีก 10 คนให้ใช้ล่ะ คุณก็จะได้รับส่วนลดด้วย คุณได้กำไรด้วย เผลอๆ เท่ากับได้ใช้ฟรี หรือเผลอๆ คุณจะได้กำไรอีกด้วย วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์ลูกค้า ก็คือ เมื่อคุณสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า สร้างพวกเขาจนทำให้เขากลายเป็นพนักงานขายของคุณแล้ว และเป็นคนแนะนำให้คนมาซื้อสินค้าคุณ นั่นเป็นวิธีที่ดีที่สุด คุณต้องสร้างฐานลูกค้า (Customer Base) โดยการพยายามที่จะเข้าถึงลูกค้าในทุกจุดที่สามารถติดต่อกับลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็น Call Center, หรือการบริการหลังการขาย หรือแผนกบัญชี ถ้าคุณสามารถเก็บข้อมูลนั้นแล้วสร้างฐานข้อมูล ขึ้นมา คุณก็จะมีโอกาสเติบโต มีโอกาสที่จะเก็บลูกค้ากลุ่มนั้นๆ ให้อยู่กับคุณนานที่สุดและขณะเดียวกัน ก็มีลูกค้าเพิ่มขึ้น ลูกค้าที่จะนำผลกำไร (Profitable Customer) มาให้คุณในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น